วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา
มี 5 ขอบข่าย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้ ได้แก่
    1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
          1) การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียน ต้องเรียนในเนื้อหาอะไรบ้าง
          2) การออกแบบ (design) คือ กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ที่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้สูงสุดต่อผู้เรียน
          3) การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้าง การผลิตสื่อการสอน
          4) การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน 
          5) การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
    1.2 ออกแบบสาร (message design) คือ การวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน                     
    1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
    1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)คือ ลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียนการสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
2. การพัฒนา (Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนการออกแบบ
    2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ  ตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ วารสาร แมกกาซีน                 
    2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตัวอย่างอุปกรณ์โสตฯ โปรเจคเตอร์, เครื่องเสียง, ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้องวีดีโอ, กล้องดิจิตอล, เครื่องฉายข้ามศีรษะ
    2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย                 
    2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์ 
3. การใช้ (Utilization) คือ ใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
    3.1 การใช้สื่อ  (Media Utilization)  เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน      
    3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 
    3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (Implementation and Institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ       
    3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulation) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
4. การจัดการ (Management) คือ ควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน จัดการ การประสานงาน และให้คำแนะนำ     
    4.1 การจัดการโครงการ (Project Management)  เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการ        
    4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (Resource Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ                       
    4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (Delivery System Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
    4.4 การจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
5. การประเมิน (Evaluation) คือ การหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
    5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)  เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ                 
    5.2 เกณฑ์การประเมิน (Criterion – Reference Management) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา          
    5.3 การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป          
    5.4 การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่1 
ข้อ1) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษา ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ 3 ประเภท ได้แก่  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ   ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ และ  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

  - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ คือ หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดาเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน
   - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จาเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต
  - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทางาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ข้อ2) ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดาเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา,ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา,ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา,ศูนนย์วิทยาการหรือสถาบันวิทยบริการ, ศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

   -  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จาเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น
 - ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทางาน บุคคลครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ข้อ3) ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้นๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบ
1. ฝ่ายบรรณสารและสารสนเทศฯชั้น ห้อง300
ที่อยู่ : อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (QS1)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์และนิสิตนักศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.edu.buu.ac.th/lrc/index2.html
2. ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (e-Learning Center)
ที่อยู่  : 869 ถนนลาดหญ้า
เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์และนิสิตนักศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://bmamedia.in.th/index.php
3. กลุ่มบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ที่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 022885906
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์และนิสิตนักศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.techno.bopp.go.th/techno_z1/

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
1. ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา

ที่อยู่ : เลขที่ 104 ม.ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.svtc.go.th/th/
2. ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย
ที่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://rlc.nrct.go.th/main.php?filename=index
3. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระยอง
ที่อยู่ : เลขที่ 22 ถนนไอ - หนึ่ง ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 21150 โทรศัพท์ : 038-683951-3
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://rayongskillcenter.go.th/rayong_web/

 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
1. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ที่อยู่ : เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.ndmi.or.th/
2. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ที่อยู่ 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.bims.buu.ac.th/j3/
3. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
ที่อยู่ ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณเขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย บุคคลทั่วไปที่สนใจจะศึกษา
แหล่งอ้างอิง http://www.tis-museum.org/index_sub.html