วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้


E-BOOK 
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
สำหรับนิสิตและบุคลทั่วไป ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญาตรี











วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรม Summer ครั้งที่ 14 (29-30 เม.ย. 2557)

1. ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึงบุคคลใด

ตอบ    บุคคลที่ทำหน้าที่งานบริหารที่ดูแล ควบคุม สั่งการ แก้ปัญหา ให้งานในระดับปฏิบัติการดำเนินต่อไปให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ โดยตำแหน่งผู้จัดการศูนย์ มักเรียกเป็นผู้อำนวยการ หัวหน้า หรืออื่น ๆ ที่สื่อความหมายถึงผู้นำศูนย์ฯนั้น ๆ

2    2. คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม
      ตอบ     1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการชี้ทิศทางในการนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                   2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนาการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียนการสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน
                  3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
                 4. ผู้ฝึกสอน (Coach)ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนาวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คาปรึกษาให้คำแนะนำสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน
                 5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องทาหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นๆ

     3. หลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง
       ตอบ     1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง
                   2. แบบแผนการคิดอ่าน(Mental models) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ (Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนาไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด
                  3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุดและเป็นสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า
                  4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีมต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นในกระจ่างอีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกันสมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนาไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหลักการของผู้นาในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
                 5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉวยเพื่อที่จะสามารถนามาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




1. ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ     แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2. ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงละเมิดการกระทำผิด

2. การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ตอบ          -     การนำภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์มาประกอบในการผลิตสื่อการสอน ไม่ต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
-                   รูปภาพและภาพถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจานวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจานวนใดน้อยกว่ากัน)
-                   ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการศึกษาได้ในปริมาณเท่ากับ อย่างน้อย 1 ภาพแต่ไม่เกิน 5 ภาพ ต่อผู้สร้างสรรค์ 1 ราย หรือ ร้อยละ 10 ของจานวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย (แล้วแต่ว่าจานวนใดน้อยกว่ากัน) แต่จะอัพโหลดงานนั้นกลับขึ้นบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

3. การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารจากหนังสือทั้งเล่ม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ       การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขัดต่อการได้รับประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนั้น

4.สัญลักษณ์นี้หมายถึงอะไร


ตอบ     เมื่อนำผลงานไปเผยแพร่ ดัดแปลงควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่นำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นนำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน

5. ให้นิสิตหาตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการใช้สัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ มา 2 เว็บไซต์พร้อมอธิบายความหมาย
ตอบ    

http://library.stou.ac.th
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.


http://www.dlo.co.th/node/198
เว้นแต่ระบุเงื่อนไขไว้เป็นอย่างอื่น เฉพาะงานสร้างสรรค์ของเว็บนี้ อนุญาตให้นำไปใช้ได้ตาม

6. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     







วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมประจำสาระรายวิชา การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ วันที่ 15-20 เมษายน 2557

กิจกรรมประจำสาระรายวิชา การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ วันที่ 15-20 เมษายน 2557


แบบฝึกหัด
2.1 การจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร 
ตอบ      การจัดหมวดหมู่ หรือ การวิเคราะห์หนังสือ  มาจากคำว่า  Book Classification   คือ การนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ โดยหนังสือที่มีเนื้อหาแบบเดียวกันจัดเอาไว้ด้วยกัน  เนื้อหาใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน  รวมถึงหนังสือที่มีลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกัน จัดกลุ่มไว้ด้วยกัน


2.2 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบทศนิยมดิวอี้
ตอบ

เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College)
       การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่างๆ
        หมวดใหญ่   การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสาระเนื้อหา กลุ่มวิชา 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้ ดังนี้
                000 เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)
                100 ปรัชญา (Philosophy)
                200 ศาสนา (Religion)
                300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)
                400 ภาษาศาสตร์ (Language)
                500 วิทยาศาสตร์ (Science)
                600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)
                700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)
                800 วรรณคดี (Literature)
                900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)

         หมวดย่อย คือการแบ่งหมวดหนังสือระดับที่ 2 แบ่งออกเป็นอีก 10หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย ยกตัวอย่างเช่น หมวด 
100 คือหมวดปรัชญา หมวดย่อยของหมวดนี้ได้แก่                 
110 อภิปรัชญา                 
120 ญาณวิทยา ความเป็นเหตุผล ความเป็นมนุษย์                
130 จิตวิทยานามธรรม                 
140 แนวความคิดปรัชญาเฉพาะกลุ่ม                
150 จิตวิทยา               
160 ตรรกศาสตร์ ตรรกวิทยา                 
170 จริยศาสตร์ ศีลธรรม                 
180 ปรัชญาสมัยโบราณ สมัยกลาง ตะวันออก                 
190 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

2.3 จงอธิบายวิธีการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 
ตอบ    การจัดหมวดหมู่ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันคือเป็นสัญลักษณ์ผสม มีทั้งหมด 21หมวด ประกอบด้วยอักษร  A-Zยกเว้นตัวอักษร  I  O  W   X  Y โดยแบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 และแต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่มลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของระบบ LC
1. หมวดใหญ่ (Main Classes) มี 21 หมวด คือ
A = เรื่องทั่วไป
B = ปรัชญา ศาสนา 
C = ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์  
D = ประวัติศาสตร์ทั่วไป / โลกเก่า
E-F= ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา  
G = ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ  
H= สังคมศาสตร์  
J = รัฐศาสตร์    
K= กฎหมาย 
L = การศึกษา 
M = ดนตรี  
N = ศิลปะ  
P = ภาษาและวรรณคดี  
Q = วิทยาศาสตร์   
R = การแพทย์
S = การเกษตร  
T = เทคโนโลยี 
 U = วิทยาศาสตร์การทหาร  
V = นาวิกศาสตร์              
Z = บรรณารักษศาสตร์

2. หมวดย่อย (Sub Classes)
              เป็นการแบ่งย่อยจากหมวดใหญ่ (main classes)ใช้อักษรภาษาอังกฤษ 2-3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดอาจแบ่งหมวดย่อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขอบเขตเนื้อหา เช่น  
หมวด H สังคมศาสตร์
หมวด HC = สถิติ  
หมวด HB = เศรษฐศาสตร์  
หมวด HC = ประวัติสภาวะทางเศรษฐกิจ                                 
หมวด HE = การขนส่งและการคมนาคม

3. เนื้อเรื่องย่อยของหนังสือ (subdivision / subject)
เป็นการแบ่งเนื้อหาในหมวดย่อย (sub classes) ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นโดยใช้เลข     1-9999 เติมหลังหมวดย่อย และอาจใช้จุดทศนิยม เลขคัตเตอร์หมู่ หรือตารางประเภทต่าง ๆ ในการกระจายเนื้อหาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

2.4 จงอธิบายหมวดหมู่ในการจัดเก็บสื่อโสตทัศน์ 
ตอบ   โสตทัศนวัสดุกำหนดสัญลักษณ์ตามประเภทของวัสดุที่ใช้บันทึก เช่น
                1)  แผนที่                          MA (MAP)
 2)  ภาพ                             PIC (Picture)
                3)  ภาพโปสเตอร์              PR (poster)                 
 4) ภาพยนตร์                     F (Film)                         
 5)  ภาพนิ่ง                        S (Slide)                     
 6) ภาพเลื่อน                     FS (Filmstrip)                   
                7) แผ่นโปร่งใส                 TR (Transparency)         
                8) แถบบันทึกเสียง          CT (Cassette tape)
 9) วีดิทัศน์                        VC (Videotape)        
10) ไมโครฟิล์ม                 MIC (Microfilm)                 
11)  แผ่นเสียง                  PD (Phonodise)           
12)  ซีดี-รอม                     CD (CD-ROM)                       
13)  วิดีโอคอมแพคดิสก์        VCD                             
14)  ดิจิทัลวิดีโอดิสก์             DVD

2.5 ถ้านิสิตสืบค้นทรัพยากรการเรียนรู้ และพบที่สันหนังสือมีเลข 371.33 834 ท แสดงว่าตัวเลขหมวดหมู่ดังกล่าวมี ความหมายว่าอะไร จงอธิบาย 
ตอบ  371.33  834 ท มีความหมายว่า
              371 คือ เลข 3 เป็นเลขหลักร้อย 300 ในหมวดใหญ่ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
             .33 คือ เลข 3 เป็นเลขหลักสิบ 030 ในหมวดย่อย หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม
             ตัว อ. คือ ตัวอักษรแรกของชื่อผู้แต่ง
              834 คือ เลขผู้แต่งหนังสือ
             ตัว ท. คือ อักษรตักแรกของชื่อหนังสือ

2.6 หมวดหมู่ของระบบอเมริกันและระบบดิวอี้ต่างกันอย่างไร
ตอบ   การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อยต่าง ๆ ได้แก่ หมวดใหญ่และหมวดย่อย ส่วนระบบของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันจะแบ่งหมวดเป็น 21 หมวด ประกอบด้วยอักษร A-Z ยกเว้น I O W X Y แบ่งเนื้อหาย่อยโดยใช้เลข  1 – 9999 แต่ละหมวดแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ บางหมวดมีเล่มเดียว บางหมวดมีหลายเล่ม

2.7 จงอธิบายประโยชน์ของการเสริมปกอ่อนให้เปกแข็ง
ตอบ       1. ต้นทุนต่ำ ประหยัดงบประมาณ โดยเฉลี่ยประมาณ 5 บาทต่อเล่ม
2. มีวิธีการขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. มีขั้นตอนในการทำที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประมาณ 5 นาทีต่อเล่ม
4. รูปเล่มมีความคงทนแข็งแรงในการให้บริการ
5. รูปเล่มสามารถทรงตัวอยู่บนชั้นหนังสือได้ โดยปกไม่ชำรุดเสียหาย
6. มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
7. สามารถรักษาโครงสร้างรูปร่างของหนังสือได้อย่างสมบูรณ์

2.8 ไม้เนียน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรในการเสริมปก
ตอบ    ไม้เนียน คือ ไม้ที่มีลักษณะแบนราบ และเรียบ
ประโยชน์ คือ ใช้รีดสิ่งประดิษฐ์ให้มีความเรียบเนียน และติดทน (กรณีใช้กาว)

2.9 วัสดุอุปกรณ์ในการเสริมปกมีอะไรบ้าง
ตอบ        1. กาวลาเท็กซ์ เช่น TOA
2. กระดาษแข็งหรือกระดาษปกเบอร์ 12 หรือมีความหนาประมาณ .050นิ้ว
3. ผ้าฝ้าย (100% Cotton)
4. มีดคัตเตอร์
5. กรรไกร
6. แผ่นพลาสติกตัดเพื่อไม่ให้โดนโต๊ะ
7. ไม้กระดานแผ่นเรียบ
8. แปรงทากาว
9. แท่นน้ำหนัก
10. ไม้เนียน
11. เครื่องเจียนกระดาษ (ถ้ามี) 
 อื่น ๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด

2.10 จงอธิบายความสำคัญของงบประมาณ
ตอบ        1. ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
                2. ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด
 3. สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี

2.11 ปีงบประมาณของส่วนภาครัฐ และเอกชนต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     งบประมาณเอกชน คือ งบประมาณจะจัดทำขึ้นปีละครั้ง เรียกว่า งบประมาณประจำปี เช่น รายสัปดาห์รายเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี โดยปีงบประมาณมักจะเป็นไปตามรอบบัญชีของเอกชน เช่น เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้น ส่วนของภาครัฐจะเริ่มปีงบประมาณในวันที่ 1ตุลาคม และสิ้นสุดปีงบประมาณในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป งบประมาณจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานทางการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

2.12 จงอธิบายความหมายงบประมาณสมดุล เกินดุล และขาดดุล
ตอบ       1. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีเท่ากับประมาณการรายได้ในปีนั้นๆ
2. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ซึ่งหมายถึงการประมาณการให้รายจ่ายประจำปีต่างกว่าประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน แนวทางนี้ต้องเรียกว่าเป็นแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เกินตัวนั่นเอง
3. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy) หมายถึงการกำหนดให้มีการจัดทางบประมาณการรายจ่ายสูงกว่างบประมาณการรายได้ในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเงินหรือนำเงินสำรองมาใช้จ่ายเพิ่มเติมในปีงบประมาณดังกล่าว

2.13 หมวดงบประมาณประกอบด้วยกี่หมวดอะไรบ้าง
ตอบ  ประเภทรายจ่ายศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จำแนกออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
                1. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
                2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว
                3. หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
                4. หมวดค่าสาธารณูปโภค
                5. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
                6. หมวดเงินอุดหนุน
                7. หมวดรายจ่ายอื่น

2.14 จงอธิบายความหมาย ค่าวัสดุและ "ค่าครุภัณฑ์"
ตอบ    ค่าวัสดุ คือ
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1. สิ่งของซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง หมดไปเอง แปรสภาพ หรือไม่คงสภาพเดิมอีกต่อไป
              1.2. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร แต่มีอายุการใช้งานมในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี
1.3. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรและมีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ1ปีขึ้นไป แต่มีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งไม่เกิน5,000 บาท ยกเว้นสิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์หรือ
1.4. สิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพคงเดิม
       ค่าครุภัณฑ์ คือ
1. รายจ่ายเพื่อซื้อ แลกเปลี่ยน จ้างทำ ทำเองหรือกรณีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสิ่งของดังต่อไปนี้
1.1. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานในระยะเวลาประมาณ 1 ปี ขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่งหรือชุดหนึ่งเกิน5,000 บาทหรือ
             1.2. สิ่งของตามตัวอย่างสิ่งของที่เป็นครุภัณฑ์
2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบ ดัดแปลง หรือต่อเติมสิ่งของตามข้อ 1 เพื่อให้มีสภาพหรือประสิทธิภาพดีขึ้น ค่าใช้จ่ายตามวรรคแรกให้หมายความรวมถึงค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาเพื่อดำเนินการเอง
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องชำระพร้อมกับค่าสิ่งของ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง ฯลฯ ให้เบิกจ่ายในรายจ่ายค่าครุภัณฑ์